วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับชา (Tea)

คุณชอบดื่มน้ำชา (Tea) มั้ย

ชา (Tea) มีต้นกำเนิดเริ่มแรกปลูกที่เมือง Assam ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย
ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชา จนกลายเป็นธุรกิจที่สำคัญแพร่หลายทั่วโลก จนถึงปัจจุบันนี้  เมื่อราว ๒๗๐๐ ปีก่อนคริส์ตศักราช ได้มีการขยายธุรกิจการค้าชา เข้าไปสู่ประเทศจีน และเป็นครั้งแรกที่ชาวจีนรู้จัก "ชา" ชาวจีนได้ให้ความสำคัญแก่ชา ว่าเป็นพืชที่ใชรักษาโรคได้ คือเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง....

ในกาลต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้น เขาได้นำใบชามาต้มน้ำดื่ม เรียกว่า "น้ำชา" ต่อมาภายหลัง  น้ำชาได้กลายเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของชาวจีน.....ในศตวรรษที่ ๗ หลังคริส์ตศักราช ภิกษุจีนได้นำชาไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น จนภายหลังต่อมา การดื่มน้ำชาของชาวญี่ปุ่นก็ได้กลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ การดื่มน้ำชาของชาวญี่ปุ่นมีพิธีรีตองมาก เป็นวัฒนธรรมการดื่มน้ำชาที่ปฏิบัติกันสืบมาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

การดื่มน้ำชาของชาวยุโรปนั้น  ชาวยุโรปเริ่มรู้จัก "ชา" (Tea) ครั้งแรกเมื่อ ๑๕๕๐ ปีมาแล้ว โดยชาวอาหรับ เป็นผู้นำเข้ามาในยุโรป เขาได้นำใบชามาเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน....ก่อนนั้นชาวยุโรปได้ให้ความสำคัญของชาว่าเป็น "ยา" รักษาโรค จะมีขายทั่วไปตามร้านขายยา และมีราคาแพงมาก  ภายหลังต่อมา การดื่มน้ำชาในยุโรปได้นิยมดื่มกันมากขึ้น....การลำเรียงขนส่งชา เข้ามาในยุโรปสมัยก่อน จะผ่านเข้ามาทางประเทศรัสเซีย มากันเป็นขบวนยาว เรียกว่า "คาราวานชา" ชาที่ถูกลำเลียงเข้ามาในยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็น "ชาเขียว"  นอกจากนั้นยังมีการลำเรียงชาอีกทางหนึ่ง คือ ทางทะเลโดยผ่านนครลอนดอน ไปยังยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็น "ชาดำ"

ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ได้มีการลำเรียงใบชาโดยเรือสินค้าทั้งลำ  เมื่อชาวยุโรปมีความต้องการดื่มชามากขึ้น ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น จึงได้ตกลงแบ่งลิขสิทธิ์การผลิตชากัน จนกระทั่งปี ค.ศ.๑๘๒๕ แพทย์ชาวเยอรมันชื่อ Philipp Franz von Sie bold ได้ลักลอบเอาดอกชาจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาปลูกที่ Java   ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการปลูกชาขยายมากขึ้น....จากนั้นต่อมาราว ๆ ปี ค.ศ. ๑๘๔๐ ชาวอังกฤษได้ค้นพบดอกชาป่าในประเทศอินเดีย และได้ทำการปลูกเพื่อเป็นการธุรกิจทันที  เป็นเหตุทำให้การผลิตชาของชาวเอเซี่ยได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา

ชาขาว ชาเขียว และชาดำ เหมือนกันหรือไม่.....ชาขาว ชาเขียวและชาดำ มาจากต้นชาประเภทเดียวกัน ต่างกันตรงการเก็บเกี่ยวและกรรมวิธี..... "ชาดำ" เขาจะม้วนใบ แล้วหั่นทันทีหลังจากเก็บเสร็จ เพื่อว่าเยื้อใบชาที่เกลี้ยง ๆ จะได้ถูกทำลาย  เวลาทำการหมักใบชา น้ำของใบชาก็จะค่อย ๆไหลซึมออกมา ส่งกลิ่นหอม....ส่วน "ชาเขียว" นั้นไม่มีการอบ วิธีการเก็บใบชาก็จะต้องระมัดระวังมาก ไม่ให้ใบช้ำ เมื่อเก็บมาแล้ว ก็จะรีบนำไปนึ่งด้วยไอน้ำร้อนทันที  หรือใช้ทำให้แห้งด้วยความร้อน...."ชาเหลือง" ก็คือชา ๒ ชนิดปนกัน จะมีส่วนผสมจากการอบและไม่อบ....ชาที่พิเศษสุด และมีประโยชน์มากคือ ชาที่ไม่อบ "ชาขาว" จะเก็บใบชาตอนที่ยังอ่อน ๆ อยู่

วิธีชงน้ำชาที่ถูกต้อง.....จะต้องต้มน้ำร้อนอุณหภูมิ 70-80 °c แล้วรินน้ำร้อน ๆ ลงในชา....ชาดำต้องใช้อุณหภูมิ 90-100 °c ถึงจะรสชาดดี  ชาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการละลายตัวในน้ำได้ไม่เหมือนกัน  บางชนิดถ้าปล่อยให้อยู่ในน้ำร้อนไม่นานรีบนำขึ้น ก็จะได้เครื่องดื่มที่มี Koffein ที่เข้มข้น เมื่อดื่มแล้ว จะทำให้รู้สึกไปกระตุ้นร่างกายกระชุ่มกระชวย  แต่ถ้าปล่อยชาไว้ในน้ำร้อนนาน ๆ  สารที่อยู่ในชาก็จะละลายในน้ำมากขึ้น  ทำให้ Koffein ไม่เข้มข้นมาก เมื่อดื่มน้ำชาเข้าไปในร่างกาย ก็จะรู้สึกว่ามีความสงบดี

...........บทความนี้แปลจาก หนังสือ " Pflanzen und Umwelt" Dr.Ulf Merbold,Dr.Hellmuth Karasek